วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน


รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
            น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
            วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
             กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
สรุป
     มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
ที่มา
- วาสนา  ชาวหา  (2533).  สื่อการสอน.  กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์. (หน้า253)http://yupapornintreewon017.page.tl/%26%233626%3B%26%233639%3B%26%233656%3B%26%233629%3B%26%233627%3B%26%233621%3B%26%233634%3B%26%233618%3B%26%233617%3B%26%233636%3B%26%233605%3B%26%233636%3B.htm. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2555

สื่อประสม คืออะไร


สื่อประสม คืออะไร

         1.สมสิทธิ จิตรสถาพร (2547) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ     การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียง
     2.  http://www.kmutt.ac.th/av/html/techno/note.htm   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงบทความนี้ว่าสื่อประสม หมายถึง  การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียงจากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกอเป็น 2 กลุ่มคือ                  
                        สื่อประสม (Multimedia เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและจะมีลักษณะเป็น " สื่อหลายแบบ "
                        สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติโดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
      3.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) กล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น  หรือมีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง
สรุป
สื่อประสม หมายถึง การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น  โดยการนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียง
ที่มา
สมสิทธิ  จิตรสถาพร. (2547). สื่อการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์,ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.
http://www.kmutt.ac.th/av/html/techno/note.htm. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555.
ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สื่อการสอนคืออะไร


สื่อการสอนคืออะไร
                วาสนา  ชาวหา (2523:8) ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่   ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2523:112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ (ส่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  กิดานันท์ มลิทอง  (2549: 100) ได้ให้ความหมายคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า ระหว่าง” (between) สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
สรุป
      ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.............สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
........1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
........2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติกา
ร.......3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
......4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
ที่มา
- ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (.(2539). แนวคิดการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน. ต้นอ้อแกรมมี่   จำกัด.กรุงเทพฯ.  เข้าถึง เมื่อ วันที่ 25 กรกรฎาคม 2555
- วาสนา  ชาวหา.(2533).สื่อการเรียนการสอน.โอเดียนสโตร์.กรุงเทพฯ  เข้าถึง เมื่อ วันที่ 25 กรกรฎาคม 2555   
- กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ 2       เข้าถึง เมื่อ วันที่ 25 กรกรฎาคม 2555    

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทของต่อการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทของต่อการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

       1.science.srru.ac.th/org/sci-elearning/courseonline/4000108/unit7.pdf. ได้รวบรวมข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาดังนี้
                  1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
                   2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
                   3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
       2.นาย ฉัตรชัย  เรืองมณี    กล่าวว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็นทำเป็น(Constructive)  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้(Knowledge Body)ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล(Individualdifferent)ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ(Facilitator) ในการเรียนการสอน     ดังนั้นด้วยในคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ      ทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Classroom) และการจัดการศึกษาแบบe-Educationซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร,เนื้อหา,กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูล ทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และ สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ บทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน(InstructionalDesigner) ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบe-Learningนั่นเอง
       3. http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information2.html   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงบทความนี้ว่า โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
สรุป
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะสำคัญ คือ เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร เป็นต้น และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกัน
ที่มา
science.srru.ac.th/org/sci-elearning/courseonline/4000108/unit7.pdf.บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2555.
นาย ฉัตรชัย  เรืองมณี .เข้าถึงได้จาก:http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346.  สืบค้นวันที่  21  กรกฎาคม  2555.
http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information2.สืบค้นวันที่  21  กรกฎาคม  2555.

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

     1.ฤทัยชนนี สิทธิชัย.( 2540, หน้า 8).กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม
      2.ดวงพร เจียมอัมพร.(2541, หน้า 15-17).กล่าวว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ
      3.สิริวดี เวทมาหะ.(2551). เทคโนโลยีสารสนเทศจึง หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บใช้งานส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ ในการจัดการสารสนเทศได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มา
ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2540). เทคโนโลยีสารสนเทศ: เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมบทวิทยุรายการห้องสมุดลอยฟ้า. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ดวงพร เจียมอัมพร. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศ.เข้าถึงได้จาก:http://learn.rru.ac.th/moodle/moodle/course/category.php?id=132.สืบค้นเมื่อ21กรกฎาคม 2555.
สิริวดี เวทมาหะ.(2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร.เข้าถึงได้จาก:http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2555.

เทคโนโลยีหมายถึง


เทคโนโลยีหมายถึง

                   สิปปนนท์ เกตุทัต อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้เทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

                 ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์  กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

                      ผดุงยศ ดวงมาลา  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
      สรุป 
                 คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

     ที่มา
        -   สิปปนนท์ เกตุทัต  http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm เข้า วันที่ 20 กรกฎาคม 2555
        - ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์  http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm  เข้า วันที่ 20 กรกฎาคม 2555
        -  ผดุงยศ ดวงมาลา http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm  เข้า วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

นวัตกรรมการการศึกษา คืออะไร


นวัตกรรมการการศึกษา คืออะไร

          1.บุญเกื้อ ครวญหาเวช. (2543). กล่าวว่า  “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
           2. อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึงเทคนิค วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในระบบการศึกษา หรือพัฒนาของเก่าที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย เหมาะสม นำมาใช้แก้ปัญหาป้องกัน หรือพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
      3. บรรณปัญญา. (วารสารออนไลน์. htm). กล่าวว่า "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้ เป็นต้น
 สรุป
           "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่มา
บุญเกื้อ ครวญหาเวช.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม :(2543).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2555.
อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์. การค้นหาและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้(Educational Innovation) .สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
บรรณปัญญา. (วารสารออนไลน์. htm).เข้าถึงได้จาก: http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฏาคม 2555.

นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร


นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร

          1.อ.จรินทร์ อาสาทรงธรรม.(2546).  กล่าวว่า  นวัตกรรม (Innovation)คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
           2.  จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37)  ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม” ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
        3. ดร.เศรษฐชัย ชัยสนิท (2553) ได้ให้ความหมายของคาว่า นวัตกรรม (Innovation)หมายถึงการทาสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการการพัฒนาต่อยอด การเปลี่ยนแปลง การประยุกต์หรือกระบวนการ และในหลายสาขา เชื่อกันตรงกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความใหม่อย่างเห็นได้ชัด และความใหม่นั้นจะต้องเพิ่มมูลค่าสิ่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยเป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทาให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสาคัญของความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
สรุป
          นวัตกรรม    หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ที่มา
อ.จรินทร์ อาสาทรงธรรม.(2546). ตีพิมพ์ในวารสาร นักบริหาร” . (ปีที่ 23: ฉบับที่ 1). มกราคม – มีนาคม 2546.
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ.
ดร.เศรษฐชัย ชัยสนิท. (2553). นวัตกรรม คืออะไร.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://it.east.spu.ac.th/informatics/admin/knowledge/A307Innovation%20and%20Technology.pdf .สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 2555.

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of cooperative or Collaborativev Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of cooperative or Collaborativev Learning)

         ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
          http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321  กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
         http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วน การประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
          http://supanida-opal.blogspot.com/   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สรุป
           เป็นทฤษฎีที่มีการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกันเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนเพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม และครูผู้สอนควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
ที่มา
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)   เข้าถึงเมื่อ  24 กรกฎาคม 2555
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321  เข้าถึงเมื่อ   24 กรกฎาคม 2555
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm   เข้าถึงเมื่อ   24 กรกฎาคม 2555
http://supanida-opal.blogspot.com/     เข้าถึงเมื่อ   24 กรกฎาคม 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

              ณัชชากัญญ์( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
             ทิศนา แขมมณี  ผู้รวบรวม ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช(วชิราวุธวิทยาลัย,2541 ก8-13) กล่าวไว้ว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองจะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด มักขึ้นกับบทบาทของครู ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนให้สอดคล้องกับแนวคิด ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียนเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงาน และกระบวนการหรืออาจประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานเป็นต้น
       http:/www.supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology)
แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
           http://www.niteslink.net/  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สรุป
         หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม   โดยครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง3 ประการ คือ 1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล 2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี 3) มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ที่มา
ณัชชากัญญ์( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  เข้าถึงเมื่อ   23 กรกฎาคม 2555
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html   เข้าถึงเมื่อ   23 กรกฎาคม 2555
http://www.niteslink.net/  เข้าถึงเมื่อ   23 กรกฎาคม 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

         ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้
Piaget (1972:1-12) กล่าวไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น
Vygotsky (1978:90-91) กล่าวไว้ว่า การให้ความช่วยเหลือชี้แนะแก่เด็ก ซึ่งอยู่ในลักษณะของassisted learning หรือ scaffolding เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะสามารถช่วยพัฒนาเด็กให้ไปถึงระดับที่อยู่ในศักยภาพของเด็กได้
Devries (1992:3-6) กล่าวไว้ว่า การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก instruction ไปเป็น construction คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้ ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้
          ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
           http://gong.web.officelive.com/Constructionism.aspx  บรูนเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลข่าวสารจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสำรวจสิ่งแวดล้อม บรูนเนอร์เชื่อว่าการรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือกหรือสิ่งรับรู้ขึ้นกับความใส่ใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ การเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ คือ
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนแต่ละคนมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน
3. พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาจะเห็นได้ชัดโดยที่ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้าที่ให้เลือกได้หลายอย่างพร้อม ๆ กันวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้
ขั้นพัฒนาการที่บรูนเนอร์เสนอมี 3 ขั้น คือ
1. วิธีการที่เรียกว่า เอนแอคทีป (Enactive Mode) ซึ่งเป็นวิธีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือผลักดึง
2. วิธีการที่เรียกว่า ไอคอนนิค (Iconic Mode) เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการหรือมโนภาพ (imagery) ขึ้นในใจได้
3. วิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ หรือ Symbolic Mode วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้ในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนมีความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
สรุป
          ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนความรู้นั้นจะอยู่คงทน
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)    เข้าถึงเมื่อ  23 กรกฎาคม 2555
http://gong.web.officelive.com/Constructionism.aspx    เข้าถึงเมื่อ   23 กรกฎาคม 255