นวัตกรรมการการศึกษา คืออะไร
1.บุญเกื้อ ครวญหาเวช. (2543). กล่าวว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต
เหล่านี้เป็นต้น
2. อาจารย์พิมพ์ทอง
สังสุทธิพงศ์ กล่าวว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึงเทคนิค วิธีการ
กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในระบบการศึกษา
หรือพัฒนาของเก่าที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย เหมาะสม นำมาใช้แก้ปัญหาป้องกัน
หรือพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
3. บรรณปัญญา. (วารสารออนไลน์. htm). กล่าวว่า "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation
)" หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้ เป็นต้น
สรุป
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )" หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด
การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่มา
บุญเกื้อ
ครวญหาเวช.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม :(2543).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2555.
อาจารย์พิมพ์ทอง
สังสุทธิพงศ์. การค้นหาและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้(Educational
Innovation) .สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
บรรณปัญญา.
(วารสารออนไลน์. htm).เข้าถึงได้จาก: http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฏาคม 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น